このサイトはnishikan.orgに移転しました。5秒後に自動的に遷移します。
もし遷移しない場合は、 こちらをクリックしてください。

This site has moved. You will be automatically redirected to nishikan.org/waraart.

บทความพิเศษ

ร่วมเพลิดเพลินไปกับการพูดคุยเกี่ยวกับ “Wara Art” “อาหาร” และ “เขตนิชิกัน”

รู้จัก “เทศกาล Wara Art” ที่จัดที่เขตนิชิกัน เมืองนีงาตะ ในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วงไหม เป็นเทศกาลในท้องถิ่นที่พบเห็นรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ และความใหญ่โตนี้ได้จาก Instagram ซึ่งมีการสอบถามเข้ามามากมายจากต่างประเทศ

หากได้รู้จัก “เขตนิชิกัน” ซึ่งเป็นที่จัดงานเอาไว้ก่อนจะทำให้สนุกยิ่งขึ้น เพื่อการสัมผัสเสน่ห์อย่างแท้จริง เขตนิชิกัน เมืองนีงาตะไม่ได้มีแค่ธรรมชาติ เช่น ภูเขา ทะเล หรือทุ่งนา แต่ยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ สถาปัตยกรรมดั้งเดิม และยังมีที่พักออนเซ็นหลายแห่ง เรียกได้ว่ามีสถานที่ให้ชื่นชมหลากหลาย

เราได้รวบรวมคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ทั้ง 4 มาพูดคุยเพื่อค้นพบเคล็ดลับความสนุกไปกับ “Wara Art” และ “เขตนิชิกัน” มาเริ่มต้นการพูดคุยที่แสนสนุกสนาน พร้อมรับประทานอาหาร และเหล้าท้องถิ่น ที่ทาคาชิมายะ ซึ่งเป็นร้านอาหารและโรงแรมที่พักแบบญี่ปุ่นในแหล่งออนเซ็นอิวามุโระ เขตนิชิกัน

ผู้สัมภาษณ์/ผู้เขียน : ฟุคุ แอนนี่ ถ่ายภาพ :ทามะมุระ เคตะ บรรณาธิการ : ซาซากิ โคเฮ (CINRA. inc,)

  • คุณเบน เดวิส

    ชาวออสเตรเลีย เป็นบรรณาธิการอาศัยอยู่ในโตเกียว ชื่นชอบญี่ปุ่น การท่องเที่ยว และศิลปะ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยท้องถิ่นในมุมมองของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการสร้างชุมชน

  • คุณสึเอะโยชิ ยูตะ

    นักศึกษาภาควิชาการออกแบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะ เข้าร่วม ”เทศกาลWara Art” ปี2018 เป็นครั้งแรกในทีมลิง และกำหนดจะเข้าร่วมในปี 2019 ด้วย

  • คุณวาตานาเบะ คาโอริ

    เกิดและเติบโตในเขตนิชิกัน เมืองนีงาตะ เคยมีประสบการณ์ทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในโรงแรมของแหล่งออนเซ็นอิวามุโระ แต่งงานกับสามีผู้เป็นชาวนา ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับการผลิตข้าว

  • คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ

    ผู้อำนวยการสำนักงานการแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมพานิชย์ แผนกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ว่าการเขตนิชิกัน เมืองนีงาตะ เป็นผู้รับผิดชอบ ”เทศกาลWara Art” ตั้งแต่ปี2015 ชื่นชอบเหล้าของนีงาตะ

จากออนเซนสู่ทะเล ไปยังทิวทัศน์ทุ่งนา “เขตนิชิกัน” เผยให้เห็นถึงความหลากหลาย

คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ (ต่อไปจะเรียกว่า วาตานาเบะ) : วันนี้ขอบคุณมากครับที่อุตส่าห์มาถึงเขตนิชิกัน แม้ว่าหิมะจะตก ได้ข่าวว่าคุณเบนมาเขตนิชิกันเป็นครั้งแรก รู้สึกอย่างไรบ้างครับ

ก่อนอื่นมาชนแก้วกัน!

คุณเบน เดวิส (ต่อไปจะเรียกว่า เบน) : เคยมาสึบาเมะซันโจ สถานีของรถไฟชินกันเซนที่ใกล้เขตนิชิกันที่สุด ในตอนนั้นเป็นกลางฤดูร้อน เต็มไปด้วยสีเขียวของทุ่งนาและภูเขา ช่างสวยงามและน่าประทับใจมากครับ

วันนี้ก็มาจากสึบาเมะซันโจ แต่ในฤดูหนาวมีการเก็บเกี่ยวไปหมดแล้วทุ่งนาจึงดูโล่งเตียน ทำให้ได้เพลิดเพลินกับวิวอีกแบบ

ทิวทัศน์ทุ่งนาในดูร้อนของเขตนิชิกัน

เขตนิชิกันในฤดูหนาว

เบน :ในช่วงเช้าได้ไปวนดูสถานที่มีชื่อเสียงของเขตนิชิกันมาครับ บริเวณตีนเขามีโรงแรมออนเซ็นมากมายเลยน่าสนใจมาก แล้วยังได้เห็นบรรยากาศของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแบบโรงแรมนี้อีกหลายแห่ง

หากขับรถข้ามเขาไปก็จะเห็นทะเลญี่ปุ่นกว้างขวางอยู่ตรงหน้า และยังมีชายหาดด้วย รู้สึกตกใจที่มีทะเลอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ออนเซนอิวามุโระ โรงแรมทาคาชิโนะยาโดะ ทาคาชิมายะ

ชายหาดเล่นน้ำอุระฮามะ (เขตนิชิกัน)

คุณวาตานาเบะ คาโอริ (ต่อไปจะเรียกว่า คาโอริ) : เวลามาเขตนิชิกันมักจะเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนาอันโล่งกว้างอยู่ตลอด พอรู้ว่าอีกฝั่งของภูเขาเป็นวิวทะเลก็น่าตกใจทีเดียวค่ะ

คุณเบน เดวิส(ทางซ้ายด้านใน) คุณวาตานาเบะ คาโอริ (ทางซ้ายด้านหน้า) คุณสึเอะโยชิ ยูตะ (ทางขวาด้านใน) คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ (ทางขวาด้านหน้า)

วาตานาเบะ : คุณสึเอะโยชิเคยมาพักที่เขตนิชิกันเพื่อสร้างผลงาน “Wara Art” เมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 รู้สึกอย่างไรบ้างครับ

คุณสึเอะโยชิ ยูตะ (ต่อไปจะเรียกว่า สึเอะโยชิ) : ครั้งแรกที่มาเป็นฤดูร้อน พอครั้งนี้เป็นฤดูหนาว วิวทิวทัศน์ก็เป็นคนละเรื่องเลย ตกใจมากครับ วันนี้ได้ไปดูสวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะที่จะจัดงาน “เทศกาล Wara Art” เลยได้ระลึกถึงความยากลำบากในการทำเมื่อครั้งก่อนด้วยครับ (หัวเราะ)

บรรยากาศงาน “เทศกาล Wara Art” ในปี 2018

บรรยากาศงาน “เทศกาล Wara Art” ในปี 2018

สึเอะโยชิ : ผมเกิดที่จังหวัดมิยาซากิซึ่งเป็นเขตอบอุ่นของญี่ปุ่น วันนี้มีโอกาสได้มาเห็นทะเลญี่ปุ่นในฤดูหนาวเป็นครั้งแรก และเห็นหิมะเป็นครั้งที่ 4 ในชีวิต

ถึงจะเป็นต่างจังหวัดในญี่ปุ่นเหมือนกัน แต่ทัศนียภาพและภูมิอากาศก็แตกต่างกัน อาจพูดได้ว่าเขตนิชิกันมีทัศนียภาพที่เปิดกว้าง รู้สึกเหมือนกับจะเห็นไปถึงเส้นขอบฟ้าเลย มันสุดยอดมากครับ

“เทศกาล Wara Art” เริ่มต้นอย่างไร

เบน : ผมรักในศิลปะมาก วันนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้มา แรกเริ่มเดิมทีแล้ว “เทศกาล Wara Art” นั้นเป็นอย่างไรครับ

วาตานาเบะ : เขตนิชิกันเป็นพื้นที่ที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวได้ค่อนข้างเยอะแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิ และชาวบ้านเขตนิชิกันได้ร่วมมือกันนำ “ฟางข้าว” นั้นมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะขนาดใหญ่ ในปีที่แล้วจัดทำผลงานทั้งหมด 5 ชิ้น ชิ้นที่ใหญ่ๆ บางชิ้นมีความสูงถึง 5 เมตรเลยครับ

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2018

วาตานาเบะ : แล้วนำเอาผลงานเหล่านั้นไปจัดแสดงที่สวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะ แล้วเปิดการจัดแสดง “เทศกาล Wara Art” ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ใน“เทศกาล Wara Art” นั้นนอกจากจะจัดแสดงผลงานแล้ว ยังมีการจำหน่ายสินค้าเกษตรกรรมของเขตนิชิกัน และทดลองทำผลงานจากฟางข้าว ตัวงานเทศกาลเองจัดเพียง 1 วัน แต่หลังจากนั้นจะจัดแสดงผลงานต่อไปอีก 2 เดือน

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2017

เบน :อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างงาน “Wara Art” หรือครับ

วาตานาเบะ : ก่อนหน้านี้ทางเขตนิชิกัน และมหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะได้ร่วมมือกันจัดอีเวนท์ที่เรียกว่า “Art Site Iwamuro Onsen” (อาร์ทไซต์อิวามุโระออนเซน) ที่จะใช้โรงแรมออนเซ็นที่มีอยู่มากมายในอิวามุโระออนเซ็น (เช่นที่ทาคาชิมายะแห่งนี้) เป็นที่จัดงานศิลปะ

พอได้ปรึกษากับทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะว่าอยากทำอีเวนทใหม่ๆ บ้าง อาจารย์ก็ได้เล่าให้ฟังว่าที่เมืองซัปโปโรในจังหวัดฮอกไกโด หรือเมืองโทคามาจิในจังหวัดนีงาตะได้จัดงาน “เทศกาลหิมะ” ซึ่งเป็นการแกะสลักหิมะที่ทับถมกันอยู่อย่างมหาศาล

อาจารย์จึงแนะว่าพื้นที่กว่าครึ่งในเขตนิชิกันนั้นเป็นท้องนาก็เลยมี “ฟางข้าว” จำนวนมหาศาล ถ้าได้ทำผลงานจากฟางข้าวก็ดูน่าสนใจไม่น้อย จึงเกิดไอเดียจัดทำผลงานศิลปะ “Wara Art” ขึ้นมาครับ

เบน :เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปีนี้ 2019 ก็เป็นปีที่ 13 แล้วสิครับ

วาตานาเบะ : ใช่แล้วครับ ในตอนแรกเราได้สร้างสรรค์ผลงานในทุ่งนากันเลย แต่พอได้รับความสนใจมากขึ้น และผลงานก็มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงได้ย้ายไปจัดที่สวนสาธารณะใหญ่ๆ เช่นในตอนนี้จัดที่สวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะ

สวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะ

วาตานาเบะ : วาตานาเบะ : นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทีมงานก็จะเปลี่ยนไปทุกปี แต่ละคนได้รับการถ่ายทอดเทคนิค และโนว์ฮาวน์มาจากรุ่นพี่ ก็เลยมีฝีมือที่เก่งขึ้นเรื่อยๆ

เช่น สร้างผลงานเป็นสัตว์ยากๆ หรือ ไดโนเสาร์ หรือทำเป็นรูปเป็ด หรือปลาหมึกลอยในน้ำ ในช่วงหลายปีมานี้ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความท้าทายไปอย่างมาก

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2016

มีผลงานที่สูงกว่า 5 เมตร ความลับของการสร้าง “Wara Art” คืออะไร

เบน :ทำไมคุณสึเอะโยชิถึงเข้าร่วมสร้าง “Wara Art” หรือครับ

สึเอะโยชิ : เมื่อได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะแล้วก็รู้สึกว่าอยากทำอะไรสักอย่าง และตอนนั้นโปสเตอร์ “Wara Art” ที่แปะอยู่ในมหาวิทยาลัยก็ดูเท่มากเลยครับ

ผู้ที่จะเข้าร่วมได้นั้นต้องเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ 2 เท่านั้น มีทั้งนักศึกษาจากภาควิชาภาพเขียนน้ำมัน การออกแบบอุตสาหกรรมงานฝีมือ และการออกแบบสารสนเทศ เป็นต้น ครับ

วาตานาเบะ : ถึงแม้จะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะ ก็ไม่ค่อยมีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหญ่ๆ แบบนี้สักเท่าไร ก็เลยดูเหมือนว่าจะมีคนสนใจกันเยอะเลยนะครับ

เพราะว่าจัดต่อเนื่องกันมาถึง 12 ปี ก็เลยเป็นที่รู้จักในหมู่นักศึกษา ตอนนี้ก็มีคนมาสมัครเกินเป้า แต่ก่อนต้องคอยโฆษณาว่า “ได้พักที่ออนเซ็นนะ” “ได้กินอาหารอร่อยๆ นะ” เพื่อที่จะให้นักศึกษามาสมัครกัน (หัวเราะ)

สึเอะโยชิ : ใช่เลยครับ (หัวเราะ) ปีที่แล้วในช่วงฤดูใบไม้ผลิพอรวมกลุ่มกันได้ก็ช่วยกันออกไอเดีย โดยเริ่มคิดจากลักษณะพิเศษของการสร้างรูปแบบ Wara Art คืออะไร แล้วก็ลองร่างภาพ แล้วลงสี

ถ้าเลือกได้แล้วว่าจะทำรูปสัตว์อะไร ก็จะลองทำเป็นรูปจำลองดินเหนียวขึ้นมาก่อน หลังจากนั้นก็จะสร้างโครงรูปจำลองด้วยไม้ซีกๆ

บรรยากาศการสร้างผลงาน “เทศกาลWara Art” 2018

วาตานาเบะ : แล้วเราก็จะให้ช่างท้องถิ่นทำโครงขนาดจริง โดยใช้โครงรูปจำลองเป็นแบบ แต่บางครั้งก็จะมีเหตุการณ์ว่าพอนักศึกษาได้เห็นของจริงก็จะบอกว่าต่างจากที่อิมเมจไว้เลย !

สึเอะโยชิ : ใช่แล้วครับ (หัวเราะ) เมื่อปีที่แล้วผมเป็นหัวหน้ากลุ่มรับผิดชอบทำผลงานรูปลิง แล้วข้อต่อช่วงแขนไม่พอชิ้นนึง ก็เลยต้องให้ทำใหม่

ตัวโครงเอง พวกผมก็ได้ใช้ท่อคอยเติมแต่งเพื่อสร้างความกลมกลึงแบบสัตว์ แล้วจากนั้นค่อยเอาฟางข้าวแปะทับลงไปอีกที

บรรยากาศการสร้างผลงาน “เทศกาลWara Art” 2018

วาตานาเบะ : ฟางข้าวมันเป็นชิ้นละเอียดๆ กระจัดกระจายอยู่ เพราะฉะนั้นจะเอาไปแปะเลยแบบนั้นก็คงไม่ได้

ดังนั้นบรรดาคุณยายของเขตนิชิกันก็ได้ส่งกำลังใจให้เหล่านักศึกษาโดยได้ไปขอร้องให้ทีมอาสาสมัครที่เรียกว่า “คัปโปงิไท” มาช่วยถักฟางข้าวทีละเส้นๆ ด้วยมือให้เป็นแผ่น หรือที่เรียกว่า “โทบะอามิ”

การถัก “โทบะอามิ” โดยคัปโปงิไท

คาโอริ : ดิฉันได้มาแต่งงานกับชาวนาเขตนิชิกัน และทำนาข้าวแถวๆ นี้ ก็เลยได้สนับสนุนพวกฟางข้าวที่เอามาทำ “Wara Art” ดิฉันได้ร่วมผลิตข้าวกับเด็กๆ ประถมที่นี่อยู่ด้วย ก็เลยอยากจะให้นำฟางข้าวมาทำ “Wara Art”ค่ะ

และอีกอย่างก็คุณแม่ของสามีซึ่งอายุ 73 ปี เป็นสมาชิกของ “คัปโปงิไท” ด้วยค่ะ แน่นอนว่านอกจากจะช่วยทำ “โทบะอามิ” แล้วยังทำกับข้าวเลี้ยงดูทุกคนตลอดช่วงเวลาสร้างสรรค์ผลงานด้วยค่ะ

สึเอะโยชิ : อย่างนั้นเองหรอครับ! เมื่อหน้าร้อนปีที่แล้วผมจำได้ว่าพวกเราได้บ่นว่า “วันนี้ร้อนมากเลย กินได้แต่โซเมนละมั้ง” แล้วเย็นวันนั้นท่านก็ได้ทำโซเมนให้ ยังจำได้ดีว่าดีใจมากเลยครับ

คาโอริ : ตัวแกเองก็คงดีใจมากค่ะ (หัวเราะ) “โทบะอามิ” แบบดั้งเดิมซึ่งได้รับการสืบทอดโดยพวกผู้หญิงในท้องถิ่น มีเทคนิคการถักทอที่ยาก ในปัจจุบันมีแต่พวกคุณยายเท่านั้นที่ทำได้ค่ะ แต่พวกคุณยายก็ดีใจมากที่ได้มาพบปะสังสรรค์กับเหล่าวัยรุ่นมหาวิทยาลัยศิลปะจากโตเกียว

วาตานาเบะ : เหล่านักศึกษาเมื่อทำผลงาน “Wara Art” เสร็จแล้วก็กลับโตเกียว แต่ก็มีบางคนที่เขียนจดหมายส่งถึงบรรดาคุณยายทุกเดือน หรือบางคนเรียนจบแล้วก็แวะมาเที่ยว เกิดเป็นความผูกพันกันน่ะครับ

คาโอริ : เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีงามมากค่ะ อยากให้จัดแบบนี้ตลอดไปเลยค่ะ

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2016

เบน :ตอนนี้ “Wara Art” ได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศแล้วนะครับ

วาตานาเบะ : ที่ฮอกไกโด ฟุกุโอกะ ยามะงุจิ ก็ได้เริ่มทำ “Wara Art” แล้วครับ ในต่างประเทศ อย่างที่ออสเตรเลียก็ได้ข่าวว่ามีบางที่ได้ลองทำ “Wara Art” กันแล้ว ก็เลยอยากจะประชาสัมพันธ์ในเรื่องของต้นกำเนิด “Wara Art” ที่เขตนิชิกันไปพร้อมๆ กับให้ทุกคนร่วมสนุกสนานไปด้วยครับ

มีทั้งปลา ผักสด และเหล้า อีกทั้งอาหารท้องถิ่นที่ไม่เป็นที่รู้จัก

เบน :ผมว่าเบียร์นี้ดื่มง่ายแล้วก็อร่อยดีนะครับ

เจ้าของร้านทาคาชิมายะ คุณทาคาชิมะ โมโตโกะ

เจ้าของร้าน:ค่ะ นี่คือคราฟท์เบียร์ที่ใช้ข้าวที่ปลูกที่เขตนิชิกันเป็นส่วนประสม (สายพันธุ์โคชิฮิคาริ) มีชื่อว่า “สวอนเลค โคชิฮิคาริ” ค่ะ

คาโอริ : บางครั้งดิฉันก็ดื่มเบียร์นี้ค่ะ เพราะไม่ได้ใช้ข้าวสาลี 100% แต่มีส่วนประสมของข้าวอยู่ด้วย เลยทำให้มีกลิ่นหอมรสอร่อยนะคะ ที่เขตนิชิกันเป็นแหล่งปลูกข้าว เลยทำให้มีโรงกลั่นเหล้าญี่ปุ่นอยู่หลายแห่งเลยนะ

เหล้าญี่ปุ่น

เบน :วันนี้ผมได้มาเห็นการผลิตเหล้ากับตาตัวเองจริงๆ โรงกลั่นสาเกทาคาระยามะมีมาตั้งแต่อดีต วันนี้บังเอิญได้มาเจอกับทางเจ้าของร้านเลยกรุณาพามาชมรอบๆด้วยตัวเอง เธอเป็นคนร่าเริงเลยได้เล่าเรื่องต่างๆ ให้ผมฟังอย่างสนุกสนาน รู้สึกประทับใจจนอยากจะกลับไปอีกสักครั้ง

โรงกลั่นเหล้าทาคาระยามะ

ในการทัศนศึกษา เจ้าของโรงกลั่นทาคาระยามะได้อธิบายถึงเหล้าญี่ปุ่นชนิดต่างๆ ให้ฟัง (ในการมาทัศนศึกษา จะต้องทำการจองล่วงหน้า)

คาโอริ : เจ้าของสวยมากเลยนะคะ ได้ยินว่าเคล็ดลับของผิวสวยมาจากเหล้าญี่ปุ่นค่ะ ทุกวันเธอจะใช้เหล้ามาทาที่ผิว และยังใช้แช่ตัวตอนอาบน้ำด้วย
โรงกลั่นทาคาระยามะเป็นโรงกลั่นที่มีประวัติศาสตร์ในเขตนิชิกัน เคยถูกใช้เป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงมาก

โรงกลั่นเหล้าทาคาระยามะ

เบน :สนุกจังเลยนะครับ พอได้ไปเห็นของจริงและมีคนท้องถิ่นมาเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง เรื่องที่ค้นพบเป็นเรื่องที่ไม่มีเขียนไว้ในไกด์บุ๊ค ทำให้อยากรู้เรื่องราวของเขตนิชิกันมากยิ่งขึ้น นี่เป็นโอกาสอันดีที่ทำให้รู้จักกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้น

เจ้าของร้าน:ตอนนี้จะขออธิบายถึงอาหารหน่อยนะคะ ท่านที่มาจังหวัดนีงาตะมีหลายท่านที่มาเพราะอาจมีเป้าหมายเป็นอาหารทะเล ดิฉันก็เลยกำลังคิดค้นเมนูที่ใช้ปลาจับมาได้สดๆ จากท้องถิ่นมาทำอาหารที่ทุกท่านน่าจะชื่นชอบกัน

อาหารเครื่องเคียง (จากบนวนตามเข็มนาฬิกา ปลาอิวาชิตัวเล็ก หอยโตโคบุชินึ่งเหล้า ปลามานาคัทสึโอะแช่ซอสนัมบัง ข้าวหุงดอกอุโนฮานะ)

ข้าวห่อสาหร่ายเอบาตะ

เจ้าของร้าน:พอฤดูหนาวมาถึง ก็จะเป็นฤดูกาลของ “ปลาโนโดกุโระ” วันนี้ก็เลยนำมาย่างเกลือค่ะ “ปลาโนโดกุโระ” ที่จับได้บริเวณนี้จะมีมันปลาอยู่มาก ทำให้รับประทานได้อร่อยมากค่ะ

ปลาโนโดกุโระย่างเกลือ

เบน :ผมไม่ค่อยได้มีโอกาสที่จะได้ทานปลาที่จับจากทะเลญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก อร่อยจริงๆเลยนะครับ รสเปรี้ยวของน้ำส้มสายชูก็เข้ากันได้ดีกับปลาเป็นอย่างมาก

คาโอริ : “ปลาฮิราเมะแล่บาง” ถึงฉันจะเป็นคนท้องถิ่นแต่ก็รู้สึกประทับใจมาก บ้านเกิดของฉันคือที่ที่เรียกว่ามาเสะใกล้ๆกับท่าเรือจับปลา เขตนิชิกันฝั่งชายทะเล ปลาที่จับได้ที่นั่นไม่ว่าชนิดไหนก็สดและอร่อย แต่ว่าปลาฮิราเมะจานนี้มันสุดยอดมากจริงๆ แค่รูปลักษณ์ภายนอกก็ดูเหมือนงานศิลปะเลยค่ะ

ปลาฮิราเมะแล่บาง

เบน :“คาบุระมุชิ” หรือของทะเลนึ่งก็ดูมีความพิถีพิถันมากจนน่าตกใจเลยครับ พอแหวกตรงกลางดูพบว่าไม่ได้มีแค่เนื้อปูแต่ยังมีเนื้อปลาเทราต์อยู่ด้วย อร่อยได้หลายรสชาติทีเดียว รสสัมผัสกับลิ้นละมุนละไม อร่อยจริงๆ ครับ คนต่างชาติชอบอาหารรสชาติอ่อนแบบญี่ปุ่นมาก จานนี้ผมขอแนะนำครับ

ของทะเลนึ่งคาบุระมุชิ ที่ใส่ปลาเทราต์ รากยูริเนะ และเนื้อปู

เจ้าของร้าน:“คาบุระมุชิ” หรือของทะเลนึ่ง นำหัวผักกาดมาขูดแล้วนำปลาเนื้อขาวที่แล่มาแล้ววางไว้ด้านบน จากนั้นจึงนำไปนึ่ง ส่วนของที่ไว้ทานแกล้มกับเบียร์และเหล้าญี่ปุ่นคือหัวไชเท้าตากแห้งและด้านในใส่มัสตาร์ดไว้แล้วนำไปดองเรียกว่า “คาราชิมากิ” หรือมัสตาร์ดม้วนไส้ เป็นเมนูแนะนำ

เบน :ไม่ค่อยเผ็ดมากนะครับ

คาราชิมากิ หรือมัสตาร์ดม้วนไส้

สึเอะโยชิ : ของหวานที่เป็นมิซุโยคัง มีความเบาๆ สัมผัสของขนมแทบจะละลายไปในปากเลยครับ รู้สึกทึ่งมาก

มิซุโยคัง เป็นขนมวุ้นที่ทานในฤดูร้อน แต่ในแถบย่านอิวาชิทสึมีธรรมเนียมการกินวุ้นมิซุโยคังในฤดูหนาวด้วย

คาโอริ : ที่จริงแล้วดิฉันได้บอกกับแม่สามีว่าวันนี้จะมีการสัมภาษณ์เรื่องนี้ แม่บอกว่าให้นำสิ่งนี้มาให้ทุกคนลองทานกันด้วยค่ะ ……(หยิบห่อขึ้นมา)

อาหารที่มีชื่อว่า “โกกิริ” และ “นามางุซาโงโกะ” เป็นอาหารท้องถิ่นของเขตนิชิกัน ถึงจะเป็นคนท้องถิ่นแต่ถ้าอายุน้อยก็จะไม่รู้จักอาหารประเภทนี้ ถือว่าเป็นอาหารท้องถิ่นมากๆ เลยค่ะ ลองชิมดูไหมคะ?

เบน สึเอะโยชิ วาตานาเบะ:เอาสิครับ!

คาโอริ : “โกกิริ” คืออาหารที่ทำจากหัวไชเท้า แครอทและปลาซาบะมาต้มรวมกันและใส่กากสาเกลงไป เขตนิชิกันซึ่งมีข้าวปลูกอยู่เยอะ มีของต้มที่ทำจากกากสาเกที่เรียกว่า “คาสุนิ” อยู่หลายชนิดค่ะ รู้สึกมีความข้นไหมคะ?

สึเอะโยชิ : ทานง่ายทีเดียวครับ รสชาติอ่อนดีครับ

โกกิริ

เบน :กลิ่นค่อนข้างจะแรงเลยคิดว่ารสชาติน่าจะแรงตามกลิ่นแต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นนะครับ รสชาติค่อนข้างอ่อนและเนื้อสัมผัสมีความเข้มข้น อาหารท้องถิ่นที่ทำโดยคนท้องถิ่นนี่อร่อยมากๆ เลยครับ

คาโอริ : “นามางุซาโงโกะ” อันนี้อาจจะทำให้ตกใจเล็กน้อยนะคะ ในเขตนิชิกันเองจะทำแค่ฝั่งที่ติดทะเลเท่านั้น เป็นของดองค่ะ

นำปลาอิวาชิมาทาเกลือและนำไปต้มจนกว่าจะเปื่อยยุ่ย ในนั้นใส่หัวไชเท้าดิบลงไปแล้วนำไปดองไว้ประมาณ 1 ปี ดูภายนอกเหมือนผักกาดหัวไชโป๊ แต่รสชาติเหมือน “ปลาอิวาชิ” เลยค่ะ ……

เปรียบเหมือนเป็น “แอนโชวี่สไตล์ญี่ปุ่น” คิดว่าน่าจะนำของเหล่านี้ออกมานำเสนอเป็นของดีขึ้นชื่อตัวแทนของเขตนิชิกันให้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น

โกกิริ(ซ้าย)、นามางุซาโงโกะ(ขวา)

เบน :……จานนี้หน้าตาภายนอกกับรสชาติแตกต่างกันมากจริงๆครับ! (หัวเราะ) มองจากภายนอกดูเป็นหัวไชเท้าธรรมดา แต่ทานแล้วไม่มีรสชาติอื่นเลยนอกจากปลาอิวาชิ รสชาติของจานนี้เฉพาะตัวมาก ผมคงไม่รู้ลืมแน่นอนครับ

วาตานาเบะ : ผมเกิดและเติบโตที่นีงาตะ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ทานเลยครับ สิ่งนี้น่าจะเป็นกระแสได้ในรายการทีวีหรือในอินเตอร์เน็ตได้เลยนะครับ

“เทศกาล Wara Art” จะทำให้เขตนิชิกันสนุกสนานยิ่งๆ ขึ้นไป

วาตานาเบะ : วันนี้ผมมีเรื่องที่อยากจะถามทุกคน การจะให้ชาวต่างชาติมาสนุกสนานกับเขตนิชิกันหรืองาน “เทศกาล Wara Art” ควรทำอย่างไรดีครับ

เบน :ผมเองมาจากออสเตรเลีย ที่ญี่ปุ่นก็เคยอยู่กับบ้านเกษตรกรตามชนบทและทำงานร่วมกันมา ผมรู้สึกว่าแต่ละที่ของญี่ปุ่นมักจะมีเสน่ห์ และลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละสถานที่นั้นๆอยู่

คิดว่าน่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่มาญี่ปุ่นแล้วอยากสัมผัสกับสถานที่ที่ไม่ได้อยู่ในไกด์บุ๊คและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างเช่น เขตนิชิกัน ที่มีการจัดงาน “เทศกาล Wara Art” ที่ดูน่าสนุกแบบนี้

การได้ลองไปสถานที่นั้นจริงๆ และพบปะกับคนท้องถิ่น ทำไมถึงได้กินอาหารแบบนี้ ที่นี่มีวัฒนธรรมแบบไหน แค่ได้ฟังเรื่องเหล่านั้นก็รู้สึกสนุกแล้วครับ

วาตานาเบะ : พวกผมคงไม่ใช่แค่ปล่อยข้อมูลข่าวสารออกไปเท่านั้น แต่การสื่อสารกับเหล่านักท่องเที่ยวที่มาก็สำคัญเหมือนกันนะครับ

เบน :“เทศกาล Wara Art” มีนักท่องเที่ยวต่างชาติและศิลปินติดต่อสอบถามมาเกี่ยวกับงานเทศกาลแล้ว สำหรับคนที่มางานแล้วจริงๆ คงต้องมีการให้รายละเอียดของงานกับผู้เข้าร่วมให้ดีด้วย

“เรื่องภาษา” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีป้ายภาษาอังกฤษหรือแผนที่ภาษาอังกฤษให้กับนักท่องเที่ยว แต่ยิ่งไปกว่านั้น “การสื่อสาร” เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถึงจะไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่ความพยายามในการใช้ภาษากายก็ทำให้สามารถสื่อสารความรู้สึกเราให้อีกฝ่ายรับรู้ได้

อย่างเช่น ถ้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเขตนิชิกันต้องการจะพูดคุยกับคนท้องถิ่น ควรจะรู้คำอะไรไว้บ้างหรือครับ?

วาตานาเบะ : อะไรดีนะ ....? แต่เราใช้คำว่า “นาจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง?)(How are you?)” ในการสื่อสารบ่อยนะครับ

คาโอริ : อย่างเช่น เพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานจะถามว่า “นาจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง?)” น่ะค่ะ เหมารวมเรื่องงาน สุขภาพ ชีวิต ทุกอย่างออกมาในคำเดียวว่า “นันจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง?)

เบน :แล้วเวลาตอบ ตอบว่าอะไรหรือครับ

คาโอริ : คำถามนี้ใช้ถามได้ทุกโอกาส ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพจะตอบว่า “สบายดี” ถ้าถามเรื่องงานจะตอบว่า “ก็ไปได้ด้วยดี” แล้วแต่สถานการณ์ว่าหมายถึงอะไรน่ะค่ะ

คาโอริ : แล้วก็คำว่า “กัตโตะ (มาก)” ก็ใช้บ่อยมากค่ะ เช่น “วันนี้อาหารอร่อยมาก ก็จะพูดว่า “กัตโตะ” โออิชี่” (หัวเราะ)

เบน :“กัตโตะ Delicious!” แบบนี้หรอครับ? มีชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้อยู่มาก แต่ถึงอย่างนั้นไม่ว่าจะสื่อสารด้วยภาษาแบบไหนก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้สนทนากัน ซึ่งก็น่าสนุกแล้วแหละครับ ได้เรียนรู้คำใหม่ๆ เป็นหลักฐานว่าเราได้ไปเยี่ยมเยือนที่นั่นมาแล้ว

คาโอริ : ยังไงก็ลองพูดว่า “นาจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง)” ดูนะคะ คนท้องถิ่นตอนแรกคงจะตกใจแน่ แต่ก็ต้องยินดีมากเลยล่ะค่ะ อยากให้ลองใช้ดูนะคะ (หัวเราะ)

เบน :นอกจากนี้ เป็นงานอีเวนต์ที่มีความแปลกใหม่ แต่สามารถต่อยอดไปได้อีก สามารถสร้างคอนเน็คชั่นได้อีกในหลายแง่มุมนะครับ

ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเขตนิชิกัน เมื่อนำศิลปะเข้าไปผสมผสานก็จะเกิดการรับรู้ที่เป็นอิมเมจที่ชัดเจนกว่าเดิม ทั้งถนนอาร์ทวอร์คและเมืองออนเซนของเขตนิชิกันเป็นข้อมูลที่นักท่องเที่ยวน่าจะสนใจ ถ้าเราทำเป็นแผนที่เดิมชมเมืองที่มีจุดน่าสนใจต่างๆ อยู่บนแผนที่ก็น่าจะดีไม่น้อยนะครับ

ให้“เทศกาล Wara Art”เป็นจุดเริ่มต้น ที่ทำให้ได้มานอนพักโรงแรมเรียวกังแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ได้ทานอาหารที่อร่อยๆ และแช่ออนเซน เขตนิชิกันดูเป็นเขตที่มีความสามารถที่จะพัฒนาไปได้อีก ความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนท้องถิ่นก็คงพัฒนาไปได้ไกลอีกเช่นกัน

วัดชุเก็ทสึจิ (เขตนิชิกัน)

วาตานาเบะ : ที่สถานท่องเที่ยว “อิวามุโระ” มี “Wara Art” ขนาดเล็กจัดแสดงประจำอยู่นะครับ ส่วนผลงานจริงทุกๆ ปี เมื่อเทศกาลจบลง เราจะทำลายทิ้ง อยากจะพิจารณาถึงการความเป็นไปได้ในการเก็บรักษาหรือใช้งานต่อเหมือนกันนะครับ

เบน :นั่นสิครับ ถ้าเก็บได้เราก็จะได้นำผลงานไปตกแต่งในเมืองได้ ทำให้กลายเป็นความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในเมืองด้วย และถ้าทำได้ก็คงจะมีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา

คาโอริ : ถ้าเทศกาลนี้จัดขึ้นต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ ก็จะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก พวกคุณป้า “กลุ่มคัปโปงิไท” อายุมากกันแล้ว ดิฉันคิดว่าถ้ามีคนมาสานต่อก็จะดีไม่น้อย อยากให้ที่นี่เป็นสถานที่ที่อนุรักษ์ประเพณี “โทบะอามิ”(การถักสานโทบะ)

ฟางข้าว ตั้งแต่อดีต สามารถใช้เป็นเสื้อกันฝน เอามาสานเป็นยุ้งเก็บข้าว เอามาถักเป็นรองเท้าฟาง จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ชีวิตของคนสมัยก่อนนะคะ

ก่อนหน้านี้ ดิฉันได้ไปพิพิธภัณฑ์ของเขตนิชิกันดู ที่เก้าอี้นั่งของพิพิธภัณฑ์มีหมอนอิงวางอยู่ ไส้ของหมอนเป็นฟางไม่ได้ใช้นุ่นค่ะ วิถีชีวิตที่มีมาตั้งแต่อดีตแบบนี้ อยากจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักใน “เทศกาล Wara Art”

วาตานาเบะ : สึเอะโยชิคุงจะเดินทางมาร่วมงานที่เขตนิชิกันเพื่อร่วมสร้าง “Wara Art” ในฤดูร้อน ปี 2019 นี้ด้วยใช่ไหมครับ ปีนี้มีอะไรที่อยากลองทำดูเป็นพิเศษไหม?

สึเอะโยชิ : ต่างจังหวัดของญี่ปุ่นหลายแห่งมีธรรมชาติที่สมบูรณ์และของกินก็อร่อยนะครับ เขตนิชิกันถือว่าพิเศษและแตกต่างเพราะมี“Wara Art” ด้วย ในฐานะที่ผมเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะ อยากจะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพสูงยิ่งๆ ขึ้นไปอีกครับ

แล้วก็คิดว่าคงจะต้องมีวิธีการที่จะไว้รับรองแขกชาวต่างชาติด้วยครับ ที่เราได้สื่อสารออกไปทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผลตอบรับจากชาวต่างชาตินั้นเยอะมากกว่าคนญี่ปุ่นเองเสียอีก ถ้าเราใช้โอกาสนี้อย่างถูกต้อง ก็เป็นโอกาสในการเผยแพร่ผลงาน “Wara Art” ออกไปได้อีก เพื่อที่จะให้มีคนมาดูมากๆ ก็น่าจะลองทำอะไรใหม่ๆ ที่น่าจะเป็นกระแส ทำให้คนสนใจมากยิ่งขึ้น

  • คุณเบน เดวิส นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!

    ผมประทับใจในบริการการต้อนรับของเจ้าของโรงกลั่นเหล้าทาคาระยามะ อยากจะไปใหม่แบบสบายๆ อีกครั้งครับ นอกจากนี้ยังประทับใจในบริเวณติดทะเลของเขตนี้ ชาวต่างชาติที่ชอบการท่องเที่ยวเป็นผู้ที่ชอบกิจกรรมเอาท์ดอร์ค่อนข้างเยอะ น่าจะมาลองตั้งแคมป์หรือปีนเขากันที่แถวคาคุดะฮามะดูนะครับ

  • คุณสึเอะโยชิ ยูตะ นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!

    ทิวทัศน์ของฝั่งทะเลญี่ปุ่นเพิ่งจะเคยเห็นเป็นครั้งแรก ผมรู้สึกประทับใจมากเลยครับ แล้วก็คงจะต้องเป็นวิวของทุ่งนาที่กว้างใหญ่ไพศาล ที่สถานที่จัดงานสวนอุวาเซคิงาตะก็เช่นกัน ในฤดูร้อนและฤดูหนาวมีบรรยากาศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในแต่ละฤดูก็มีกิจกรรมที่น่าสนุกสนานหลายอย่างแตกต่างกัน ผมว่านี่คือเสน่ห์ของเขตนิชิกัน

  • คุณวาตานาเบะ คาโอรุ นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!

    ดิฉันชอบสวนอุวะเซคิงาตะค่ะ ในฤดูใบไม้ผลิมีทั้งซากุระและดอกนาโนะฮานะบาน ความตัดกันของสีชมพูและสีเหลืองมันสวยงามมากค่ะ ในฤดูใบไม้ร่วมมีดอกคอสมอสบาน วิวตอนพระอาทิตย์ตกดินกับดอกคอสมอสและ “Wara Art” เป็นอะไรที่สวยงามมาก นอกจากนี้เขตนิชิกันในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึง ต้นเดือนกรกฎาคม มีหิ่งห้อยเยอะมาก หิ่งห้อย ถ้าดูในรูปอาจจะยังไม่เท่าไหร่ อยากเห็นมาเห็นของจริงตัวเป็นๆ ค่ะ

  • คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!

    ผมชอบภูเขาครับ เพราะฉะนั้นเลยอยากแนะนำภูเขาคาคุดะยามะ ความสูงอยู่ที่ประมาณ 500 เมตร สามารถปีนได้สบายๆ เลยครับ มีชายหาดบริเวณทางขึ้นเขาด้วย พืชพรรณแถบนี้อุดมสมบูรณ์ มีดอกไม้บานเต็มไปหมด ฤดูร้อนมาปีนเขา เสร็จแล้วก็ไปเล่นน้ำทะเลต่อ จากนั้นก็ลงแช่ออนเซ็น กิจกรรมหลายๆ อย่างสามารถทำได้ภายใน 1 วัน

This year’s theme is “Lucky things that bring vitality to those who see them.”Ho-oh, Amabie, and Sankaku Daruma will bless us with their presence!

เทศกาล Wara Art 2021

Dates: Sunday, August 29–Sunday, October 31, 2021
สถานที่ : สวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะ

งาน "เทศกาล Wara Art" ที่จะจัดขึ้นนี้เป็นอีเวนท์ที่สำคัญเฉพาะตัวของแหล่งปลูกข้าวที่ใช้ประโยชน์จาก "ฟางข้าว"

Giant Wara Art sculptures made of rice straw will be displayed at Uwasekigata Park.

In addition, on Saturdays and Sundays during the event, the Nishikan Market will be held so you can enjoy even more of the charms of Nishikan Ward.

หากจะไปเขตนิชิกัน แนะนำให้นั่งแท็กซี่จากสนามบินโดยเฉพาะ สะดวกมาก

YAHIKO-IWAMURO NIIGATA WEST COAST

นีงาตะเวสต์โคสไลเนอร์ (แท็กซี่นั่งร่วม)

นั่งนีงาตะเวสต์โคสไลเนอร์ จากสนามบินนีงาตะไปยังอิวามุโระอนเซนใช้เวลา 80 นาที ฝากกระเป๋าไว้โรงแรม แล้วเพลิดเพลินในการเดินเล่นแบบตัวเปล่าไปยังเมืองอนเซน

ดูไฮไลท์ให้ครบ! นั่งรถบัสเวียนรอบเขตนิชิกัน

รถบัสเวียนท่องเที่ยวนิชิกัน

รถบัสเวียนท่องเที่ยวนิชิกัน

รถบัสเวียนรอบเขตนิชิกันได้เริ่มวิ่งแล้ว ให้คุณเพลิดเพลินได้ครบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็น "อิวามุโระยะ" สถานที่รับประทานอาหาร และหาซื้อของฝากแบบเขตนิชิกัน ภูเขาคาคุดะยามะที่เป็นที่นิยมของบรรดานักปีนเขาหลายระดับ และถนนริมทะเลที่ให้คุณสัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ของทะเลญี่ปุ่น จำกัดช่วงเวลาวิ่งตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม

เช็คข่าวสารล่าสุดบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค

มาอัพรูปลงกันเถอะ

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์