เกี่ยวกับ "Wara Art"
นี่งาตะเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงในเรื่องข้าวในประเทศญี่ปุ่น นอกจากการผลิตข้าวแล้ว ฟางข้าวก็เป็นผลผลิตที่มาเป็นอันดับรอง ในสมัยก่อนชาวญี่ปุ่นได้ประยุกต์ใช้ฟางข้าวเป็นเครื่องมือสำหรับชีวิตประจำวันของญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม แต่ในปัจจุบันการนำมาใช้เช่นนั้นกลับเลือนหายไป ในปี2006 เมืองนีงาตะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะ (ต่อไปจะเรียกว่าม.มุซาบิ) ได้คิดค้นวิธีการใช้แบบใหม่ให้กับฟางข้าว โดยจัดทำ "Wara Art" หรือวัตถุขนาดใหญ่ที่ใประดิษฐ์โดยฟางข้าว และในปี2008ได้มีการเริ่มจัดอีเวนต์ "เทศกาลWara Art" ที่มีการจัดแสดงศิลปะจากกองฟาง
"ฟางข้าว" เป็นสัญลักษณ์ของข้าวซึ่งเป็นการสนับสนุนความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่น นักศึกษาจากม.มุซาบิได้ร่วมมือกับชาวเมืองนีงาตะจัดทำผลงานศิลปะจากฟางข้าวและจัดแสดงเป็นอีเวนต์ พร้อมแสดงให้เห็นถึงการนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมกิจกรรมในชุมชนและการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้คนอีกด้วย
ความลับของ "Wara Art"
โปรเจคที่ร่วมมือกันระหว่างนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะในโตเกียวกับเกษตรกรในเขตนิชิกัน


ลักษณะเด่นที่สุดของWara
Artก็คือการร่วมมือกันระหว่างคนหนุ่มสาวในเมืองใหญ่และกลุ่มชาวบ้านเกษตรกรในเขตนิชิกัน
Wara
Artได้ถือกำเนิดจากการแลกเปลี่ยนของชาวบ้านในเขตนิชิกันซึ่งแต่เดิมคือหมู่บ้านอิวามุโระ
กับนักศึกษาม.มุซาบิในโตเกียว
การจัดทำ-จัดแสดงWara Art เริ่มในปี2006
ไอเดียในการส่งเสริมกิจกรรมในชุมชนโดยนำ "ฟางข้าว"
ที่เป็นสัญลักษณ์ของเขตนิชิกันเมืองแห่งข้าวมาเป็นวัสดุในการสร้างชิ้นงานนั้นมาจากศาสตราจารย์มิยาจิมะ
ชินโง แห่งม.มุซาบิ (ณ เวลานั้น)
จากนั้นเป็นเวลา10ปี
นักศึกษาม.มุซาบิได้สลับสับเปลี่ยนกันมาสร้างชิ้นงาน
ในตอนแรกต้องสู้รบกับการจัดการกะกองฟางข้าวที่ไม่คุ้นชิน
ดังนั้นการให้ความร่วมมือจากช่างฝีมือและเกษตรกรในท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้
จึงเป็นเรื่องราวของการผสมผสานระหว่างอารมณ์ความรู้สึกทางศิลปะของรุ่นใหม่และเทคนิคแบบดั้งเดิม
ทุกๆปีม.มุซาบิจะรับสมัครนักศึกษาเพื่อสร้างทีมจัดทำWara Art
นักศึกษาคิดดีไซน์และแรงบันดาลใจของชิ้นงาน
และช่างฝีมือจากเขตนิชิกันจะขึ้นโครงให้ตามนั้น
จากนั้นเกษตรกรในเขตนิชิกันจะไปเก็บเกี่ยวฟางข้าวตามความจำเป็นของชิ้นงานและนำให้นักศึกษา
ระหว่างที่นักศึกษาจัดทำชิ้นงานจะพักที่เขตนิชิกัน
คอยฟังคำแนะนำจากช่างฝีมือและเกษตรกร
ในช่วงที่นักศึกษาพักอยู่ที่นั่นชาวบ้านก็จะคอยทำอาหารท้องถิ่นให้รับประทาน
นักศึกษาและชาวบ้านก็จะค่อยๆ
สานสัมพันธ์กันไปพร้อมกับสร้างสรรค์ชิ้นงานให้สำเร็จ
หลังจากที่นักศึกษาสร้างชิ้นงานเสร็จและกลับโตเกียวไปก็ยังติดต่อแลกเปลี่ยนกับทางชาวบ้านอยู่
ในทุกๆ ปี
ชาวบ้านก็จะได้รับโปสการ์ดจากนักศึกษาที่มาขอความช่วยเหลือเหล่านั้น
นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาที่เดินทางมาเที่ยวหลังจากเรียนจบอีกด้วย
ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างความแตกต่างของผู้คนไม่ว่าจะเป็นอายุหรือทัศนคตินั่นแหละที่ทำให้Wara
Artอันทรงพลังถือกำเนิดขึ้นมา
ชิ้นงานที่ฝังรากลึกในท้องถิ่นโดยใช้ "ฟางข้าว"อันเป็นทรัพยากรดั้งเดิมของนิชิกัน


"ฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุหลักในการทำWara
Artนั้นมีความใกล้ชิดกับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นมาแต่สมัยโบราณ
ใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์ในชีวิตประจำวันทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นไถกลบฝังดินเป็นปุ๋ย หรือเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงเช่นม้า
วัว และยังใช้ทำรองเท้า หรือเป็นของตกแต่งแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น
ในสมัยก่อนเมื่อเข้าฤดูหนาวหิมะก็จะตกเหล่าเกษตรกรก็จะทำการเกษตรไม่ได้
ระหว่างนั้นจึงวางแผนนำฟางข้าวมาประยุกต์ทำงานอื่นๆ แทนงานประจำของตน
แต่เนื่องด้วยความเปลี่ยนแปลงทางสภาพความเป็นอยู่และยุคสมัยใหม่เข้ามา
วัฒนธรรมเช่นนั้นก็ค่อยๆ จางหาย
ในตอนนี้ผู้ที่มีฝีมือในการนำฟางข้าวมาทำงานประยุกต์นั้นมีน้อยลงเรื่อยๆ
""โทบะอามิ"" คือการถักทอฟางข้าวที่ใช้ใน ""Wara Art""
ซึ่งเป็นวิธีการแบบดั้งเดิมที่กำลังจะหมดสูญไป
ฟางข้าวนั้นแตกเป็นส่วนๆ ไม่สามารถใช้ในการผลิตงานได้
ดังนั้นเกษตรกรในชุมชนจึงช่วยกันถักฟางให้เป็นแผ่น (โทบะอามิ)
ในอดีตการถักแบบ ""โทบะอามิ"" เป็นที่แพร่หลายในทั่วญี่ปุ่น
แต่ปัจจุบันแทบไม่เหลือคนที่สามารถใช้เทคนิค ""โทบะอาทิ""ได้
อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพราะเขตนิชิกันเป็นแหล่งผลิตข้าว
เทคนิคอันหายากเช่นนี้จึงยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
""โทบะอามิ"" เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน
ฟาง1เส้นนั้นช่างละเอียดอ่อนมากๆ ถูกถักทอให้แข็งแรง
แล้วจากนั้นนักศึกษาม.มุซาบิจึงออกแบบ แล้วค่อยๆ
กลายเป็นผลงานศิลปะที่มีชีวิตชีวา "

แกลลอรี่เทศกาลWara Art
มีผลงานศิลปะWara Artที่ผ่านมา อีเวนต์โปสเตอร์
และสถานที่จัดแสดงและสร้างงานศิลปะ