
ร่วมเพลิดเพลินไปกับการพูดคุยเกี่ยวกับ “Wara Art” “อาหาร” และ “เขตนิชิกัน”
รู้จัก “เทศกาล Wara Art” ที่จัดที่เขตนิชิกัน เมืองนีงาตะ
ในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูใบไม้ร่วงไหม
เป็นเทศกาลในท้องถิ่นที่พบเห็นรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์
และความใหญ่โตนี้ได้จาก Instagram
ซึ่งมีการสอบถามเข้ามามากมายจากต่างประเทศ
หากได้รู้จัก “เขตนิชิกัน”
ซึ่งเป็นที่จัดงานเอาไว้ก่อนจะทำให้สนุกยิ่งขึ้น
เพื่อการสัมผัสเสน่ห์อย่างแท้จริง เขตนิชิกัน
เมืองนีงาตะไม่ได้มีแค่ธรรมชาติ เช่น ภูเขา ทะเล หรือทุ่งนา
แต่ยังมีมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ สถาปัตยกรรมดั้งเดิม
และยังมีที่พักออนเซ็นหลายแห่ง
เรียกได้ว่ามีสถานที่ให้ชื่นชมหลากหลาย
เราได้รวบรวมคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ทั้ง 4
มาพูดคุยเพื่อค้นพบเคล็ดลับความสนุกไปกับ “Wara Art” และ
“เขตนิชิกัน” มาเริ่มต้นการพูดคุยที่แสนสนุกสนาน
พร้อมรับประทานอาหาร และเหล้าท้องถิ่น ที่ทาคาชิมายะ
ซึ่งเป็นร้านอาหารและโรงแรมที่พักแบบญี่ปุ่นในแหล่งออนเซ็นอิวามุโระ
เขตนิชิกัน
ผู้สัมภาษณ์/ผู้เขียน : ฟุคุ แอนนี่ ถ่ายภาพ
:ทามะมุระ เคตะ บรรณาธิการ : ซาซากิ โคเฮ (CINRA. inc,)
-
คุณเบน เดวิส
ชาวออสเตรเลีย เป็นบรรณาธิการอาศัยอยู่ในโตเกียว ชื่นชอบญี่ปุ่น การท่องเที่ยว และศิลปะ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยท้องถิ่นในมุมมองของการพัฒนาที่ยั่งยืนและการสร้างชุมชน
-
คุณสึเอะโยชิ ยูตะ
นักศึกษาภาควิชาการออกแบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะ เข้าร่วม ”เทศกาลWara Art” ปี2018 เป็นครั้งแรกในทีมลิง และกำหนดจะเข้าร่วมในปี 2019 ด้วย
-
คุณวาตานาเบะ คาโอริ
เกิดและเติบโตในเขตนิชิกัน เมืองนีงาตะ เคยมีประสบการณ์ทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในโรงแรมของแหล่งออนเซ็นอิวามุโระ แต่งงานกับสามีผู้เป็นชาวนา ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับการผลิตข้าว
-
คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ
ผู้อำนวยการสำนักงานการแลกเปลี่ยนการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมพานิชย์ แผนกอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ว่าการเขตนิชิกัน เมืองนีงาตะ เป็นผู้รับผิดชอบ ”เทศกาลWara Art” ตั้งแต่ปี2015 ชื่นชอบเหล้าของนีงาตะ
จากออนเซนสู่ทะเล ไปยังทิวทัศน์ทุ่งนา “เขตนิชิกัน” เผยให้เห็นถึงความหลากหลาย
คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ (ต่อไปจะเรียกว่า วาตานาเบะ) : วันนี้ขอบคุณมากครับที่อุตส่าห์มาถึงเขตนิชิกัน แม้ว่าหิมะจะตก ได้ข่าวว่าคุณเบนมาเขตนิชิกันเป็นครั้งแรก รู้สึกอย่างไรบ้างครับ

ก่อนอื่นมาชนแก้วกัน!
คุณเบน เดวิส (ต่อไปจะเรียกว่า เบน) : เคยมาสึบาเมะซันโจ สถานีของรถไฟชินกันเซนที่ใกล้เขตนิชิกันที่สุด
ในตอนนั้นเป็นกลางฤดูร้อน เต็มไปด้วยสีเขียวของทุ่งนาและภูเขา
ช่างสวยงามและน่าประทับใจมากครับ
วันนี้ก็มาจากสึบาเมะซันโจ
แต่ในฤดูหนาวมีการเก็บเกี่ยวไปหมดแล้วทุ่งนาจึงดูโล่งเตียน
ทำให้ได้เพลิดเพลินกับวิวอีกแบบ

ทิวทัศน์ทุ่งนาในดูร้อนของเขตนิชิกัน

เขตนิชิกันในฤดูหนาว
เบน :ในช่วงเช้าได้ไปวนดูสถานที่มีชื่อเสียงของเขตนิชิกันมาครับ
บริเวณตีนเขามีโรงแรมออนเซ็นมากมายเลยน่าสนใจมาก
แล้วยังได้เห็นบรรยากาศของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมแบบโรงแรมนี้อีกหลายแห่ง
หากขับรถข้ามเขาไปก็จะเห็นทะเลญี่ปุ่นกว้างขวางอยู่ตรงหน้า
และยังมีชายหาดด้วย รู้สึกตกใจที่มีทะเลอยู่ใกล้แค่เอื้อม

ออนเซนอิวามุโระ โรงแรมทาคาชิโนะยาโดะ ทาคาชิมายะ

ชายหาดเล่นน้ำอุระฮามะ (เขตนิชิกัน)
คุณวาตานาเบะ คาโอริ (ต่อไปจะเรียกว่า คาโอริ) : เวลามาเขตนิชิกันมักจะเห็นทิวทัศน์ของทุ่งนาอันโล่งกว้างอยู่ตลอด พอรู้ว่าอีกฝั่งของภูเขาเป็นวิวทะเลก็น่าตกใจทีเดียวค่ะ

คุณเบน เดวิส(ทางซ้ายด้านใน) คุณวาตานาเบะ คาโอริ (ทางซ้ายด้านหน้า) คุณสึเอะโยชิ ยูตะ (ทางขวาด้านใน) คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ (ทางขวาด้านหน้า)
วาตานาเบะ : คุณสึเอะโยชิเคยมาพักที่เขตนิชิกันเพื่อสร้างผลงาน “Wara Art” เมื่อฤดูร้อนปีที่แล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่2 รู้สึกอย่างไรบ้างครับ
คุณสึเอะโยชิ ยูตะ (ต่อไปจะเรียกว่า สึเอะโยชิ) : ครั้งแรกที่มาเป็นฤดูร้อน พอครั้งนี้เป็นฤดูหนาว วิวทิวทัศน์ก็เป็นคนละเรื่องเลย ตกใจมากครับ วันนี้ได้ไปดูสวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะที่จะจัดงาน “เทศกาล Wara Art” เลยได้ระลึกถึงความยากลำบากในการทำเมื่อครั้งก่อนด้วยครับ (หัวเราะ)

บรรยากาศงาน “เทศกาล Wara Art” ในปี 2018

บรรยากาศงาน “เทศกาล Wara Art” ในปี 2018
สึเอะโยชิ : ผมเกิดที่จังหวัดมิยาซากิซึ่งเป็นเขตอบอุ่นของญี่ปุ่น
วันนี้มีโอกาสได้มาเห็นทะเลญี่ปุ่นในฤดูหนาวเป็นครั้งแรก
และเห็นหิมะเป็นครั้งที่ 4 ในชีวิต
ถึงจะเป็นต่างจังหวัดในญี่ปุ่นเหมือนกัน
แต่ทัศนียภาพและภูมิอากาศก็แตกต่างกัน
อาจพูดได้ว่าเขตนิชิกันมีทัศนียภาพที่เปิดกว้าง
รู้สึกเหมือนกับจะเห็นไปถึงเส้นขอบฟ้าเลย มันสุดยอดมากครับ
“เทศกาล Wara Art” เริ่มต้นอย่างไร
เบน : ผมรักในศิลปะมาก วันนี้ก็รู้สึกตื่นเต้นที่จะได้มา แรกเริ่มเดิมทีแล้ว “เทศกาล Wara Art” นั้นเป็นอย่างไรครับ
วาตานาเบะ : เขตนิชิกันเป็นพื้นที่ที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวได้ค่อนข้างเยอะแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิ และชาวบ้านเขตนิชิกันได้ร่วมมือกันนำ “ฟางข้าว” นั้นมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะขนาดใหญ่ ในปีที่แล้วจัดทำผลงานทั้งหมด 5 ชิ้น ชิ้นที่ใหญ่ๆ บางชิ้นมีความสูงถึง 5 เมตรเลยครับ

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2018
วาตานาเบะ : แล้วนำเอาผลงานเหล่านั้นไปจัดแสดงที่สวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะ แล้วเปิดการจัดแสดง “เทศกาล Wara Art” ตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม ใน“เทศกาล Wara Art” นั้นนอกจากจะจัดแสดงผลงานแล้ว ยังมีการจำหน่ายสินค้าเกษตรกรรมของเขตนิชิกัน และทดลองทำผลงานจากฟางข้าว ตัวงานเทศกาลเองจัดเพียง 1 วัน แต่หลังจากนั้นจะจัดแสดงผลงานต่อไปอีก 2 เดือน

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2017
เบน :อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างงาน “Wara Art” หรือครับ
วาตานาเบะ : ก่อนหน้านี้ทางเขตนิชิกัน
และมหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะได้ร่วมมือกันจัดอีเวนท์ที่เรียกว่า
“Art Site Iwamuro Onsen” (อาร์ทไซต์อิวามุโระออนเซน)
ที่จะใช้โรงแรมออนเซ็นที่มีอยู่มากมายในอิวามุโระออนเซ็น
(เช่นที่ทาคาชิมายะแห่งนี้) เป็นที่จัดงานศิลปะ
พอได้ปรึกษากับทางอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะว่าอยากทำอีเวนทใหม่ๆ
บ้าง อาจารย์ก็ได้เล่าให้ฟังว่าที่เมืองซัปโปโรในจังหวัดฮอกไกโด
หรือเมืองโทคามาจิในจังหวัดนีงาตะได้จัดงาน “เทศกาลหิมะ”
ซึ่งเป็นการแกะสลักหิมะที่ทับถมกันอยู่อย่างมหาศาล
อาจารย์จึงแนะว่าพื้นที่กว่าครึ่งในเขตนิชิกันนั้นเป็นท้องนาก็เลยมี
“ฟางข้าว” จำนวนมหาศาล ถ้าได้ทำผลงานจากฟางข้าวก็ดูน่าสนใจไม่น้อย
จึงเกิดไอเดียจัดทำผลงานศิลปะ “Wara Art” ขึ้นมาครับ

เบน :เริ่มจัดตั้งแต่ปี 2007 จนถึงปีนี้ 2019 ก็เป็นปีที่ 13 แล้วสิครับ
วาตานาเบะ : ใช่แล้วครับ ในตอนแรกเราได้สร้างสรรค์ผลงานในทุ่งนากันเลย แต่พอได้รับความสนใจมากขึ้น และผลงานก็มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงได้ย้ายไปจัดที่สวนสาธารณะใหญ่ๆ เช่นในตอนนี้จัดที่สวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะ

สวนสาธารณะอุวะเซคิงาตะ
วาตานาเบะ : วาตานาเบะ :
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน
ทีมงานก็จะเปลี่ยนไปทุกปี แต่ละคนได้รับการถ่ายทอดเทคนิค
และโนว์ฮาวน์มาจากรุ่นพี่ ก็เลยมีฝีมือที่เก่งขึ้นเรื่อยๆ
เช่น สร้างผลงานเป็นสัตว์ยากๆ หรือ ไดโนเสาร์
หรือทำเป็นรูปเป็ด หรือปลาหมึกลอยในน้ำ
ในช่วงหลายปีมานี้ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความท้าทายไปอย่างมาก

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2016
มีผลงานที่สูงกว่า 5 เมตร ความลับของการสร้าง “Wara Art” คืออะไร
เบน :ทำไมคุณสึเอะโยชิถึงเข้าร่วมสร้าง “Wara Art” หรือครับ
สึเอะโยชิ : เมื่อได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะแล้วก็รู้สึกว่าอยากทำอะไรสักอย่าง
และตอนนั้นโปสเตอร์ “Wara Art”
ที่แปะอยู่ในมหาวิทยาลัยก็ดูเท่มากเลยครับ
ผู้ที่จะเข้าร่วมได้นั้นต้องเป็นนักศึกษาชั้นปีที่
1 และ 2 เท่านั้น มีทั้งนักศึกษาจากภาควิชาภาพเขียนน้ำมัน
การออกแบบอุตสาหกรรมงานฝีมือ และการออกแบบสารสนเทศ เป็นต้น ครับ

วาตานาเบะ : ถึงแม้จะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะ
ก็ไม่ค่อยมีโอกาสสร้างสรรค์ผลงานชิ้นใหญ่ๆ แบบนี้สักเท่าไร
ก็เลยดูเหมือนว่าจะมีคนสนใจกันเยอะเลยนะครับ
เพราะว่าจัดต่อเนื่องกันมาถึง 12 ปี
ก็เลยเป็นที่รู้จักในหมู่นักศึกษา ตอนนี้ก็มีคนมาสมัครเกินเป้า
แต่ก่อนต้องคอยโฆษณาว่า “ได้พักที่ออนเซ็นนะ” “ได้กินอาหารอร่อยๆ
นะ” เพื่อที่จะให้นักศึกษามาสมัครกัน (หัวเราะ)
สึเอะโยชิ : ใช่เลยครับ (หัวเราะ)
ปีที่แล้วในช่วงฤดูใบไม้ผลิพอรวมกลุ่มกันได้ก็ช่วยกันออกไอเดีย
โดยเริ่มคิดจากลักษณะพิเศษของการสร้างรูปแบบ Wara Art คืออะไร
แล้วก็ลองร่างภาพ แล้วลงสี
ถ้าเลือกได้แล้วว่าจะทำรูปสัตว์อะไร
ก็จะลองทำเป็นรูปจำลองดินเหนียวขึ้นมาก่อน
หลังจากนั้นก็จะสร้างโครงรูปจำลองด้วยไม้ซีกๆ

บรรยากาศการสร้างผลงาน “เทศกาลWara Art” 2018
วาตานาเบะ : แล้วเราก็จะให้ช่างท้องถิ่นทำโครงขนาดจริง โดยใช้โครงรูปจำลองเป็นแบบ แต่บางครั้งก็จะมีเหตุการณ์ว่าพอนักศึกษาได้เห็นของจริงก็จะบอกว่าต่างจากที่อิมเมจไว้เลย !
สึเอะโยชิ : ใช่แล้วครับ (หัวเราะ)
เมื่อปีที่แล้วผมเป็นหัวหน้ากลุ่มรับผิดชอบทำผลงานรูปลิง
แล้วข้อต่อช่วงแขนไม่พอชิ้นนึง ก็เลยต้องให้ทำใหม่
ตัวโครงเอง
พวกผมก็ได้ใช้ท่อคอยเติมแต่งเพื่อสร้างความกลมกลึงแบบสัตว์
แล้วจากนั้นค่อยเอาฟางข้าวแปะทับลงไปอีกที

บรรยากาศการสร้างผลงาน “เทศกาลWara Art” 2018
วาตานาเบะ : ฟางข้าวมันเป็นชิ้นละเอียดๆ กระจัดกระจายอยู่
เพราะฉะนั้นจะเอาไปแปะเลยแบบนั้นก็คงไม่ได้
ดังนั้นบรรดาคุณยายของเขตนิชิกันก็ได้ส่งกำลังใจให้เหล่านักศึกษาโดยได้ไปขอร้องให้ทีมอาสาสมัครที่เรียกว่า
“คัปโปงิไท” มาช่วยถักฟางข้าวทีละเส้นๆ ด้วยมือให้เป็นแผ่น
หรือที่เรียกว่า “โทบะอามิ”

การถัก “โทบะอามิ” โดยคัปโปงิไท
คาโอริ : ดิฉันได้มาแต่งงานกับชาวนาเขตนิชิกัน และทำนาข้าวแถวๆ นี้
ก็เลยได้สนับสนุนพวกฟางข้าวที่เอามาทำ “Wara Art”
ดิฉันได้ร่วมผลิตข้าวกับเด็กๆ ประถมที่นี่อยู่ด้วย
ก็เลยอยากจะให้นำฟางข้าวมาทำ “Wara Art”ค่ะ
และอีกอย่างก็คุณแม่ของสามีซึ่งอายุ 73 ปี
เป็นสมาชิกของ “คัปโปงิไท” ด้วยค่ะ แน่นอนว่านอกจากจะช่วยทำ
“โทบะอามิ”
แล้วยังทำกับข้าวเลี้ยงดูทุกคนตลอดช่วงเวลาสร้างสรรค์ผลงานด้วยค่ะ

สึเอะโยชิ : อย่างนั้นเองหรอครับ! เมื่อหน้าร้อนปีที่แล้วผมจำได้ว่าพวกเราได้บ่นว่า “วันนี้ร้อนมากเลย กินได้แต่โซเมนละมั้ง” แล้วเย็นวันนั้นท่านก็ได้ทำโซเมนให้ ยังจำได้ดีว่าดีใจมากเลยครับ
คาโอริ : ตัวแกเองก็คงดีใจมากค่ะ (หัวเราะ) “โทบะอามิ” แบบดั้งเดิมซึ่งได้รับการสืบทอดโดยพวกผู้หญิงในท้องถิ่น มีเทคนิคการถักทอที่ยาก ในปัจจุบันมีแต่พวกคุณยายเท่านั้นที่ทำได้ค่ะ แต่พวกคุณยายก็ดีใจมากที่ได้มาพบปะสังสรรค์กับเหล่าวัยรุ่นมหาวิทยาลัยศิลปะจากโตเกียว
วาตานาเบะ : เหล่านักศึกษาเมื่อทำผลงาน “Wara Art” เสร็จแล้วก็กลับโตเกียว แต่ก็มีบางคนที่เขียนจดหมายส่งถึงบรรดาคุณยายทุกเดือน หรือบางคนเรียนจบแล้วก็แวะมาเที่ยว เกิดเป็นความผูกพันกันน่ะครับ
คาโอริ : เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดีงามมากค่ะ อยากให้จัดแบบนี้ตลอดไปเลยค่ะ

ผลงานจาก “เทศกาล Wara Art” ในปี 2016
เบน :ตอนนี้ “Wara Art” ได้เผยแพร่ไปทั่วประเทศแล้วนะครับ
วาตานาเบะ : ที่ฮอกไกโด ฟุกุโอกะ ยามะงุจิ ก็ได้เริ่มทำ “Wara Art” แล้วครับ ในต่างประเทศ อย่างที่ออสเตรเลียก็ได้ข่าวว่ามีบางที่ได้ลองทำ “Wara Art” กันแล้ว ก็เลยอยากจะประชาสัมพันธ์ในเรื่องของต้นกำเนิด “Wara Art” ที่เขตนิชิกันไปพร้อมๆ กับให้ทุกคนร่วมสนุกสนานไปด้วยครับ
มีทั้งปลา ผักสด และเหล้า อีกทั้งอาหารท้องถิ่นที่ไม่เป็นที่รู้จัก
เบน :ผมว่าเบียร์นี้ดื่มง่ายแล้วก็อร่อยดีนะครับ

เจ้าของร้านทาคาชิมายะ คุณทาคาชิมะ โมโตโกะ

เจ้าของร้าน:ค่ะ นี่คือคราฟท์เบียร์ที่ใช้ข้าวที่ปลูกที่เขตนิชิกันเป็นส่วนประสม (สายพันธุ์โคชิฮิคาริ) มีชื่อว่า “สวอนเลค โคชิฮิคาริ” ค่ะ
คาโอริ : บางครั้งดิฉันก็ดื่มเบียร์นี้ค่ะ เพราะไม่ได้ใช้ข้าวสาลี 100% แต่มีส่วนประสมของข้าวอยู่ด้วย เลยทำให้มีกลิ่นหอมรสอร่อยนะคะ ที่เขตนิชิกันเป็นแหล่งปลูกข้าว เลยทำให้มีโรงกลั่นเหล้าญี่ปุ่นอยู่หลายแห่งเลยนะ


เหล้าญี่ปุ่น
เบน :วันนี้ผมได้มาเห็นการผลิตเหล้ากับตาตัวเองจริงๆ โรงกลั่นสาเกทาคาระยามะมีมาตั้งแต่อดีต วันนี้บังเอิญได้มาเจอกับทางเจ้าของร้านเลยกรุณาพามาชมรอบๆด้วยตัวเอง เธอเป็นคนร่าเริงเลยได้เล่าเรื่องต่างๆ ให้ผมฟังอย่างสนุกสนาน รู้สึกประทับใจจนอยากจะกลับไปอีกสักครั้ง

โรงกลั่นเหล้าทาคาระยามะ

ในการทัศนศึกษา เจ้าของโรงกลั่นทาคาระยามะได้อธิบายถึงเหล้าญี่ปุ่นชนิดต่างๆ ให้ฟัง (ในการมาทัศนศึกษา จะต้องทำการจองล่วงหน้า)
คาโอริ : เจ้าของสวยมากเลยนะคะ
ได้ยินว่าเคล็ดลับของผิวสวยมาจากเหล้าญี่ปุ่นค่ะ
ทุกวันเธอจะใช้เหล้ามาทาที่ผิว และยังใช้แช่ตัวตอนอาบน้ำด้วย
โรงกลั่นทาคาระยามะเป็นโรงกลั่นที่มีประวัติศาสตร์ในเขตนิชิกัน
เคยถูกใช้เป็นที่ถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงมาก

โรงกลั่นเหล้าทาคาระยามะ
เบน :สนุกจังเลยนะครับ พอได้ไปเห็นของจริงและมีคนท้องถิ่นมาเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง เรื่องที่ค้นพบเป็นเรื่องที่ไม่มีเขียนไว้ในไกด์บุ๊ค ทำให้อยากรู้เรื่องราวของเขตนิชิกันมากยิ่งขึ้น นี่เป็นโอกาสอันดีที่ทำให้รู้จักกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้น
เจ้าของร้าน:ตอนนี้จะขออธิบายถึงอาหารหน่อยนะคะ ท่านที่มาจังหวัดนีงาตะมีหลายท่านที่มาเพราะอาจมีเป้าหมายเป็นอาหารทะเล ดิฉันก็เลยกำลังคิดค้นเมนูที่ใช้ปลาจับมาได้สดๆ จากท้องถิ่นมาทำอาหารที่ทุกท่านน่าจะชื่นชอบกัน

อาหารเครื่องเคียง (จากบนวนตามเข็มนาฬิกา ปลาอิวาชิตัวเล็ก หอยโตโคบุชินึ่งเหล้า ปลามานาคัทสึโอะแช่ซอสนัมบัง ข้าวหุงดอกอุโนฮานะ)

ข้าวห่อสาหร่ายเอบาตะ
เจ้าของร้าน:พอฤดูหนาวมาถึง ก็จะเป็นฤดูกาลของ “ปลาโนโดกุโระ” วันนี้ก็เลยนำมาย่างเกลือค่ะ “ปลาโนโดกุโระ” ที่จับได้บริเวณนี้จะมีมันปลาอยู่มาก ทำให้รับประทานได้อร่อยมากค่ะ

ปลาโนโดกุโระย่างเกลือ
เบน :ผมไม่ค่อยได้มีโอกาสที่จะได้ทานปลาที่จับจากทะเลญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก อร่อยจริงๆเลยนะครับ รสเปรี้ยวของน้ำส้มสายชูก็เข้ากันได้ดีกับปลาเป็นอย่างมาก
คาโอริ : “ปลาฮิราเมะแล่บาง” ถึงฉันจะเป็นคนท้องถิ่นแต่ก็รู้สึกประทับใจมาก บ้านเกิดของฉันคือที่ที่เรียกว่ามาเสะใกล้ๆกับท่าเรือจับปลา เขตนิชิกันฝั่งชายทะเล ปลาที่จับได้ที่นั่นไม่ว่าชนิดไหนก็สดและอร่อย แต่ว่าปลาฮิราเมะจานนี้มันสุดยอดมากจริงๆ แค่รูปลักษณ์ภายนอกก็ดูเหมือนงานศิลปะเลยค่ะ

ปลาฮิราเมะแล่บาง
เบน :“คาบุระมุชิ” หรือของทะเลนึ่งก็ดูมีความพิถีพิถันมากจนน่าตกใจเลยครับ พอแหวกตรงกลางดูพบว่าไม่ได้มีแค่เนื้อปูแต่ยังมีเนื้อปลาเทราต์อยู่ด้วย อร่อยได้หลายรสชาติทีเดียว รสสัมผัสกับลิ้นละมุนละไม อร่อยจริงๆ ครับ คนต่างชาติชอบอาหารรสชาติอ่อนแบบญี่ปุ่นมาก จานนี้ผมขอแนะนำครับ

ของทะเลนึ่งคาบุระมุชิ ที่ใส่ปลาเทราต์ รากยูริเนะ และเนื้อปู
เจ้าของร้าน:“คาบุระมุชิ” หรือของทะเลนึ่ง นำหัวผักกาดมาขูดแล้วนำปลาเนื้อขาวที่แล่มาแล้ววางไว้ด้านบน จากนั้นจึงนำไปนึ่ง ส่วนของที่ไว้ทานแกล้มกับเบียร์และเหล้าญี่ปุ่นคือหัวไชเท้าตากแห้งและด้านในใส่มัสตาร์ดไว้แล้วนำไปดองเรียกว่า “คาราชิมากิ” หรือมัสตาร์ดม้วนไส้ เป็นเมนูแนะนำ
เบน :ไม่ค่อยเผ็ดมากนะครับ

คาราชิมากิ หรือมัสตาร์ดม้วนไส้
สึเอะโยชิ : ของหวานที่เป็นมิซุโยคัง มีความเบาๆ สัมผัสของขนมแทบจะละลายไปในปากเลยครับ รู้สึกทึ่งมาก

มิซุโยคัง เป็นขนมวุ้นที่ทานในฤดูร้อน แต่ในแถบย่านอิวาชิทสึมีธรรมเนียมการกินวุ้นมิซุโยคังในฤดูหนาวด้วย
คาโอริ : ที่จริงแล้วดิฉันได้บอกกับแม่สามีว่าวันนี้จะมีการสัมภาษณ์เรื่องนี้
แม่บอกว่าให้นำสิ่งนี้มาให้ทุกคนลองทานกันด้วยค่ะ
……(หยิบห่อขึ้นมา)
อาหารที่มีชื่อว่า “โกกิริ” และ
“นามางุซาโงโกะ” เป็นอาหารท้องถิ่นของเขตนิชิกัน
ถึงจะเป็นคนท้องถิ่นแต่ถ้าอายุน้อยก็จะไม่รู้จักอาหารประเภทนี้
ถือว่าเป็นอาหารท้องถิ่นมากๆ เลยค่ะ ลองชิมดูไหมคะ?
เบน สึเอะโยชิ วาตานาเบะ:เอาสิครับ!
คาโอริ : “โกกิริ” คืออาหารที่ทำจากหัวไชเท้า แครอทและปลาซาบะมาต้มรวมกันและใส่กากสาเกลงไป เขตนิชิกันซึ่งมีข้าวปลูกอยู่เยอะ มีของต้มที่ทำจากกากสาเกที่เรียกว่า “คาสุนิ” อยู่หลายชนิดค่ะ รู้สึกมีความข้นไหมคะ?
สึเอะโยชิ : ทานง่ายทีเดียวครับ รสชาติอ่อนดีครับ

โกกิริ
เบน :กลิ่นค่อนข้างจะแรงเลยคิดว่ารสชาติน่าจะแรงตามกลิ่นแต่ก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นนะครับ รสชาติค่อนข้างอ่อนและเนื้อสัมผัสมีความเข้มข้น อาหารท้องถิ่นที่ทำโดยคนท้องถิ่นนี่อร่อยมากๆ เลยครับ
คาโอริ : “นามางุซาโงโกะ”
อันนี้อาจจะทำให้ตกใจเล็กน้อยนะคะ
ในเขตนิชิกันเองจะทำแค่ฝั่งที่ติดทะเลเท่านั้น เป็นของดองค่ะ
นำปลาอิวาชิมาทาเกลือและนำไปต้มจนกว่าจะเปื่อยยุ่ย
ในนั้นใส่หัวไชเท้าดิบลงไปแล้วนำไปดองไว้ประมาณ 1 ปี
ดูภายนอกเหมือนผักกาดหัวไชโป๊ แต่รสชาติเหมือน “ปลาอิวาชิ” เลยค่ะ
……
เปรียบเหมือนเป็น “แอนโชวี่สไตล์ญี่ปุ่น”
คิดว่าน่าจะนำของเหล่านี้ออกมานำเสนอเป็นของดีขึ้นชื่อตัวแทนของเขตนิชิกันให้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น

โกกิริ(ซ้าย)、นามางุซาโงโกะ(ขวา)
เบน :……จานนี้หน้าตาภายนอกกับรสชาติแตกต่างกันมากจริงๆครับ! (หัวเราะ) มองจากภายนอกดูเป็นหัวไชเท้าธรรมดา แต่ทานแล้วไม่มีรสชาติอื่นเลยนอกจากปลาอิวาชิ รสชาติของจานนี้เฉพาะตัวมาก ผมคงไม่รู้ลืมแน่นอนครับ
วาตานาเบะ : ผมเกิดและเติบโตที่นีงาตะ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ได้ทานเลยครับ สิ่งนี้น่าจะเป็นกระแสได้ในรายการทีวีหรือในอินเตอร์เน็ตได้เลยนะครับ
“เทศกาล Wara Art” จะทำให้เขตนิชิกันสนุกสนานยิ่งๆ ขึ้นไป
วาตานาเบะ : วันนี้ผมมีเรื่องที่อยากจะถามทุกคน การจะให้ชาวต่างชาติมาสนุกสนานกับเขตนิชิกันหรืองาน “เทศกาล Wara Art” ควรทำอย่างไรดีครับ

เบน :ผมเองมาจากออสเตรเลีย
ที่ญี่ปุ่นก็เคยอยู่กับบ้านเกษตรกรตามชนบทและทำงานร่วมกันมา
ผมรู้สึกว่าแต่ละที่ของญี่ปุ่นมักจะมีเสน่ห์
และลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละสถานที่นั้นๆอยู่
คิดว่าน่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่มาญี่ปุ่นแล้วอยากสัมผัสกับสถานที่ที่ไม่ได้อยู่ในไกด์บุ๊คและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างเช่น
เขตนิชิกัน ที่มีการจัดงาน “เทศกาล Wara Art” ที่ดูน่าสนุกแบบนี้
การได้ลองไปสถานที่นั้นจริงๆ และพบปะกับคนท้องถิ่น
ทำไมถึงได้กินอาหารแบบนี้ ที่นี่มีวัฒนธรรมแบบไหน
แค่ได้ฟังเรื่องเหล่านั้นก็รู้สึกสนุกแล้วครับ

วาตานาเบะ : พวกผมคงไม่ใช่แค่ปล่อยข้อมูลข่าวสารออกไปเท่านั้น แต่การสื่อสารกับเหล่านักท่องเที่ยวที่มาก็สำคัญเหมือนกันนะครับ
เบน :“เทศกาล Wara Art”
มีนักท่องเที่ยวต่างชาติและศิลปินติดต่อสอบถามมาเกี่ยวกับงานเทศกาลแล้ว
สำหรับคนที่มางานแล้วจริงๆ
คงต้องมีการให้รายละเอียดของงานกับผู้เข้าร่วมให้ดีด้วย
“เรื่องภาษา”
ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีป้ายภาษาอังกฤษหรือแผนที่ภาษาอังกฤษให้กับนักท่องเที่ยว
แต่ยิ่งไปกว่านั้น “การสื่อสาร” เป็นเรื่องที่สำคัญมาก
ถึงจะไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้
แต่ความพยายามในการใช้ภาษากายก็ทำให้สามารถสื่อสารความรู้สึกเราให้อีกฝ่ายรับรู้ได้
อย่างเช่น
ถ้านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเขตนิชิกันต้องการจะพูดคุยกับคนท้องถิ่น
ควรจะรู้คำอะไรไว้บ้างหรือครับ?

วาตานาเบะ : อะไรดีนะ ....? แต่เราใช้คำว่า “นาจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง?)(How are you?)” ในการสื่อสารบ่อยนะครับ
คาโอริ : อย่างเช่น เพื่อนที่ไม่ได้เจอกันนานจะถามว่า “นาจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง?)” น่ะค่ะ เหมารวมเรื่องงาน สุขภาพ ชีวิต ทุกอย่างออกมาในคำเดียวว่า “นันจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง?)
เบน :แล้วเวลาตอบ ตอบว่าอะไรหรือครับ
คาโอริ : คำถามนี้ใช้ถามได้ทุกโอกาส ถ้าเป็นเรื่องสุขภาพจะตอบว่า “สบายดี” ถ้าถามเรื่องงานจะตอบว่า “ก็ไปได้ด้วยดี” แล้วแต่สถานการณ์ว่าหมายถึงอะไรน่ะค่ะ
คาโอริ : แล้วก็คำว่า “กัตโตะ (มาก)” ก็ใช้บ่อยมากค่ะ เช่น “วันนี้อาหารอร่อยมาก ก็จะพูดว่า “กัตโตะ” โออิชี่” (หัวเราะ)
เบน :“กัตโตะ Delicious!” แบบนี้หรอครับ? มีชาวต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้อยู่มาก แต่ถึงอย่างนั้นไม่ว่าจะสื่อสารด้วยภาษาแบบไหนก็เป็นจุดเริ่มต้นที่จะได้สนทนากัน ซึ่งก็น่าสนุกแล้วแหละครับ ได้เรียนรู้คำใหม่ๆ เป็นหลักฐานว่าเราได้ไปเยี่ยมเยือนที่นั่นมาแล้ว
คาโอริ : ยังไงก็ลองพูดว่า “นาจิระเนะ? (เป็นยังไงบ้าง)” ดูนะคะ คนท้องถิ่นตอนแรกคงจะตกใจแน่ แต่ก็ต้องยินดีมากเลยล่ะค่ะ อยากให้ลองใช้ดูนะคะ (หัวเราะ)

เบน :นอกจากนี้
เป็นงานอีเวนต์ที่มีความแปลกใหม่ แต่สามารถต่อยอดไปได้อีก
สามารถสร้างคอนเน็คชั่นได้อีกในหลายแง่มุมนะครับ
ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเขตนิชิกัน
เมื่อนำศิลปะเข้าไปผสมผสานก็จะเกิดการรับรู้ที่เป็นอิมเมจที่ชัดเจนกว่าเดิม
ทั้งถนนอาร์ทวอร์คและเมืองออนเซนของเขตนิชิกันเป็นข้อมูลที่นักท่องเที่ยวน่าจะสนใจ
ถ้าเราทำเป็นแผนที่เดิมชมเมืองที่มีจุดน่าสนใจต่างๆ
อยู่บนแผนที่ก็น่าจะดีไม่น้อยนะครับ
ให้“เทศกาล Wara
Art”เป็นจุดเริ่มต้น
ที่ทำให้ได้มานอนพักโรงแรมเรียวกังแบบญี่ปุ่นแท้ๆ
ได้ทานอาหารที่อร่อยๆ และแช่ออนเซน
เขตนิชิกันดูเป็นเขตที่มีความสามารถที่จะพัฒนาไปได้อีก
ความสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับคนท้องถิ่นก็คงพัฒนาไปได้ไกลอีกเช่นกัน


วัดชุเก็ทสึจิ (เขตนิชิกัน)
วาตานาเบะ : ที่สถานท่องเที่ยว “อิวามุโระ” มี “Wara Art” ขนาดเล็กจัดแสดงประจำอยู่นะครับ ส่วนผลงานจริงทุกๆ ปี เมื่อเทศกาลจบลง เราจะทำลายทิ้ง อยากจะพิจารณาถึงการความเป็นไปได้ในการเก็บรักษาหรือใช้งานต่อเหมือนกันนะครับ
เบน :นั่นสิครับ ถ้าเก็บได้เราก็จะได้นำผลงานไปตกแต่งในเมืองได้ ทำให้กลายเป็นความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในเมืองด้วย และถ้าทำได้ก็คงจะมีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา

คาโอริ : ถ้าเทศกาลนี้จัดขึ้นต่อเนื่องไปได้เรื่อยๆ
ก็จะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก พวกคุณป้า “กลุ่มคัปโปงิไท”
อายุมากกันแล้ว ดิฉันคิดว่าถ้ามีคนมาสานต่อก็จะดีไม่น้อย
อยากให้ที่นี่เป็นสถานที่ที่อนุรักษ์ประเพณี
“โทบะอามิ”(การถักสานโทบะ)
ฟางข้าว ตั้งแต่อดีต
สามารถใช้เป็นเสื้อกันฝน เอามาสานเป็นยุ้งเก็บข้าว
เอามาถักเป็นรองเท้าฟาง
จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการใช้ชีวิตของคนสมัยก่อนนะคะ
ก่อนหน้านี้ ดิฉันได้ไปพิพิธภัณฑ์ของเขตนิชิกันดู
ที่เก้าอี้นั่งของพิพิธภัณฑ์มีหมอนอิงวางอยู่
ไส้ของหมอนเป็นฟางไม่ได้ใช้นุ่นค่ะ
วิถีชีวิตที่มีมาตั้งแต่อดีตแบบนี้ อยากจะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักใน
“เทศกาล Wara Art”
วาตานาเบะ : สึเอะโยชิคุงจะเดินทางมาร่วมงานที่เขตนิชิกันเพื่อร่วมสร้าง “Wara Art” ในฤดูร้อน ปี 2019 นี้ด้วยใช่ไหมครับ ปีนี้มีอะไรที่อยากลองทำดูเป็นพิเศษไหม?

สึเอะโยชิ : ต่างจังหวัดของญี่ปุ่นหลายแห่งมีธรรมชาติที่สมบูรณ์และของกินก็อร่อยนะครับ
เขตนิชิกันถือว่าพิเศษและแตกต่างเพราะมี“Wara Art” ด้วย
ในฐานะที่ผมเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปะ
อยากจะสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพสูงยิ่งๆ ขึ้นไปอีกครับ
แล้วก็คิดว่าคงจะต้องมีวิธีการที่จะไว้รับรองแขกชาวต่างชาติด้วยครับ
ที่เราได้สื่อสารออกไปทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค
ผลตอบรับจากชาวต่างชาตินั้นเยอะมากกว่าคนญี่ปุ่นเองเสียอีก
ถ้าเราใช้โอกาสนี้อย่างถูกต้อง ก็เป็นโอกาสในการเผยแพร่ผลงาน “Wara
Art” ออกไปได้อีก เพื่อที่จะให้มีคนมาดูมากๆ ก็น่าจะลองทำอะไรใหม่ๆ
ที่น่าจะเป็นกระแส ทำให้คนสนใจมากยิ่งขึ้น

-
คุณเบน เดวิส นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!
ผมประทับใจในบริการการต้อนรับของเจ้าของโรงกลั่นเหล้าทาคาระยามะ อยากจะไปใหม่แบบสบายๆ อีกครั้งครับ นอกจากนี้ยังประทับใจในบริเวณติดทะเลของเขตนี้ ชาวต่างชาติที่ชอบการท่องเที่ยวเป็นผู้ที่ชอบกิจกรรมเอาท์ดอร์ค่อนข้างเยอะ น่าจะมาลองตั้งแคมป์หรือปีนเขากันที่แถวคาคุดะฮามะดูนะครับ
-
คุณสึเอะโยชิ ยูตะ นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!
ทิวทัศน์ของฝั่งทะเลญี่ปุ่นเพิ่งจะเคยเห็นเป็นครั้งแรก ผมรู้สึกประทับใจมากเลยครับ แล้วก็คงจะต้องเป็นวิวของทุ่งนาที่กว้างใหญ่ไพศาล ที่สถานที่จัดงานสวนอุวาเซคิงาตะก็เช่นกัน ในฤดูร้อนและฤดูหนาวมีบรรยากาศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ในแต่ละฤดูก็มีกิจกรรมที่น่าสนุกสนานหลายอย่างแตกต่างกัน ผมว่านี่คือเสน่ห์ของเขตนิชิกัน
-
คุณวาตานาเบะ คาโอรุ นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!
ดิฉันชอบสวนอุวะเซคิงาตะค่ะ ในฤดูใบไม้ผลิมีทั้งซากุระและดอกนาโนะฮานะบาน ความตัดกันของสีชมพูและสีเหลืองมันสวยงามมากค่ะ ในฤดูใบไม้ร่วมมีดอกคอสมอสบาน วิวตอนพระอาทิตย์ตกดินกับดอกคอสมอสและ “Wara Art” เป็นอะไรที่สวยงามมาก นอกจากนี้เขตนิชิกันในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึง ต้นเดือนกรกฎาคม มีหิ่งห้อยเยอะมาก หิ่งห้อย ถ้าดูในรูปอาจจะยังไม่เท่าไหร่ อยากเห็นมาเห็นของจริงตัวเป็นๆ ค่ะ
-
คุณวาตานาเบะ ทาคุยะ นี่คือสิ่งที่อยากจะแนะนำ ของเขตนิชิกัน!
ผมชอบภูเขาครับ เพราะฉะนั้นเลยอยากแนะนำภูเขาคาคุดะยามะ ความสูงอยู่ที่ประมาณ 500 เมตร สามารถปีนได้สบายๆ เลยครับ มีชายหาดบริเวณทางขึ้นเขาด้วย พืชพรรณแถบนี้อุดมสมบูรณ์ มีดอกไม้บานเต็มไปหมด ฤดูร้อนมาปีนเขา เสร็จแล้วก็ไปเล่นน้ำทะเลต่อ จากนั้นก็ลงแช่ออนเซ็น กิจกรรมหลายๆ อย่างสามารถทำได้ภายใน 1 วัน